วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะม่วง







มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และแม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ
สายพันธุ์
      มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของเจ้าพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น
·         เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน
·         น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน
·         อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย
·         ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมรับประทานผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
·         หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน
·         แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง
·         โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง
·         มหาชนก เป็นลูกผสมของมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว
การใช้ประโยชน์
ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
·         นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
·         นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
·         นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว
นอกจากการนำมาเป็นอาหารแล้ว มะม่วงมีประโยชน์ด้านอื่นอีก ดังนี้
·         เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์
·         ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
·         ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น







ฝรั่ง







         ฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนครืสตกาล พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปยังถิ่นต่างๆทั่วโลก เข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ (ใต้) ย่าหมู (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอก เดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
การใช้ประโยชน์
ชาวยุโรปนิยมบริโภคฝรั่งสุก โดยนำไปทำพายและขนมได้หลายชนิด สาวนชาวเอเชียนิยมบริโภคฝรั่งแก่จัดแต่ยังไม่สุก และนำไปแปรรูป เช่นทำเป็นฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย นอกจากนั้น ฝรั่งยังมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบฝรั่งใช้ดับกลิ่นปาก น้ำต้มใบฝรั่งสด มีฤทธิ์ทางด้านป้องกันลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ใช้ทาแก้ผื่นคัน พุพองได้ น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง มีฤทธิ์แก้คออักเสบ เสียงแห้ง ชาวอินเดียใช้ใบรักษาแผลและแก้ปวดฟัน ในฟิลิปปินส์ใช้ใบแก้เหงือกยวมและท้องเดิน เปลือกต้นฝรั่งใช้ทำสีย้อมผ้า
สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอธานอลความเข้มข้น 62.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Aeromonas hydrophila ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำสารสกัดจากใบฝรั่งไปผสมในอาหารปลาในอัตราส่วน 1:24 (w/w)ทำให้ปลานิลตายเนื่องจากการติดเชื้อ A. hydrophila น้อยลง
พันธุ์ต่างๆ
·         พันธุ์กินสด เป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานผลสด เช่น ฝรั่งขี้นก ส่วนใหญ่เนื้อสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าได้แก่
o    ฝรั่งเวียดนาม - ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 - 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่สามพรานเมื่อ พ.ศ. 25212523
o    ฝรั่งกิมจู - เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ ฝรั่งกลมสาลี่- เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
o    ฝรั่งแป้นสีทอง- ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่สามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
o    ฝรั่งไร้เมล็ด - ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู
·         พันธุ์แปรรูป เป็นพันธุ์ที่ใช้คั้นทำน้ำฝรั่ง เนื้อฉ่ำน้ำ สีชมพู







วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

องุ่น

     




   

    องุ่น

     องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกินฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึกพู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกันปลายแยกกลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณเมล็ด

ไวน์องุ่น

                     

                                 
        ไวน์ (อังกฤษฝรั่งเศส คือ เมรัยอันผลิตจากน้ำองุ่น แต่ก็อาจใช้กับเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำผลไม้อื่นเช่นกัน ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาลในองุ่น แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ คือ ไวน์ขาว หรือ และ ไวน์แดง หรือ ไวน์ที่ได้จากการผสมระหว่างไวน์ชนิดเรียกว่า ไวน์สีชมพูé หรือว่าéแปลว่าสีชมพู ถ้าใช้กับ เรียกว่าéไปเลยไม่ต้องเรียกéส่วนไวน์ที่มีการอัดก๊าซลงไป จะเรียกว่า สปาร์กลิงไวน์  สปาร์กลิงไวน์เป็นการเลียนแบบ แชมเปญ (Champagne)

 ประวัติ
ไฟล์:20-alimenti, vino rosso,Taccuino Sanitatis, Casanatense 4182.jpg

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ  ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้
 ส่วนประกอบของไวน์
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือแอลกอฮอล์ที่ละลายในน้ำ และส่วนผสมทางเคมีอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสารระเหยและสารไม่ระเหย ทั้งสารละลายและสารแขวนลอย ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง  เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ เปอร์เซ็นต์
แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอลด้วย
นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย
· น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึงกรัมต่อลิตร ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
· ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโทซีอัน
· รงควัตถุ ต่างๆ เช่น แอนโทไซยานิน ในหลาย ๆ ประเทศจะแบ่งประเภทไวน์ตามพันธุ์ขององุ่นที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และในประเทศฝรั่งเศสมีการแบ่งประเภทไวน์ตามพื้นที่แหล่งผลิตหรือกรู (ฝรั่งเศส:ผู้ผลิต และปีที่ผลิต
 พันธุ์องุ่น (ฝรั่งเศส: Cépage / อังกฤษ: Cultivar)
พันธุ์องุ่นดำที่มีชื่อเสียงในการทำไวน์แดงหรือไวน์ชมพู ได้แก่
oพันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โด (Bordeaux)
§ กาแบร์เน-โซวีญง (cabernet-sauvignon)
§ กาแบร์เน-ฟรอง (cabernet franc)
§ แมร์โลนัวร์ (merlot noir)
§ เปอตีแวร์โด (petit verdot)
§ โกตหรือมูร์แวด (cot or mourvede)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นชองปาญ (Champagne)
§ ปีโนนัวร์ (pinot noir)
§ [ขาว] ปีโนเมอนีเย (pinot meunier)
§ [ขาว] ชาร์ดอเน (chardonnay)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญโบโชเล Beaujolais]
§ กาเมนัวร์ หรือกาเมโฟรโอ (gamay freaux)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นลองเกอด็อก-รูซียงเวเดแอน: แวงดูนาตูแรล VDN: Vin Doux Naturel]
§ ซีรา (syrah)
§ เกรอนาช (grenache)
oพันธุ์องุ่นหลักของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
§ ซินฟันเดลนำมาจากประเทศอิตาลี
พันธุ์ขาว องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์ขาวได้แก่
oพันธุ์องุ่นหลักของเมืองบอร์โดโซแตร์น, อ็องตร์-เดอ-แมร์, ลูปียัก Sauterne, Entre-deux-mer, Loupiac]
§ โซวีญงบล็อง (sauvignon blanc)
§ เซมียงémillon)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นบูร์กอญชาบลี, มาร์โซล Chablis, Marsault]
§ ชาร์ดอเน (chardonnay)
§ อาลีโกเตé)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นเปอีเดอลาลัวร์วูเวร Vouvray]
§ เชอแนงบล็อง (chenin blanc)
oพันธุ์องุ่นหลักของแคว้นอัลซาซAlsace)
§ เกเวือร์ซทรามีเนอร์ürztraminer)
§ ปีโนกรี (pinot gris)
§ รีเอสลิง (riesling)
oมุสกา (muscat)
§ ซีลวาเน (sylvaner)
oอามีญในรัฐวาเล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
oซาวาแญง (savagnin)